วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ




ประวัติโคมลอย
โคมลอย หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ว่าวหรือ โกม ยังแยกเป็นว่าวลม คือ ใช้ปล่อยในเวลากลางวัน และว่าวไฟใช้ปล่อยเวลากลางคืนโคมลอยมีลักษณะคล้ายลูกบอลลูน วัตถุประสงค์
ในการปล่อยโคมลอยโดยทั่วไปแล้วชาวบ้านจะมีความเชื่อกันคือ
1. เพื่อทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชาสังฆบูชา
2. เพื่อให้โคมนั้นช่วยนำเอาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติต่างๆ ให้หายไปจากหมู่บ้าน
3. เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
วิธีทำ
การทำโคมลอยนั้นในแต่ละหมู่บ้านก็จะมีคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำ การทำโคมจะ
ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีการปล่อยโคม ก็จะประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ชาวบ้าน ต่างก็จะเอากระดาษที่เรียกกันว่า กระดาษว่าว มีสีต่างๆ กันหลายสีมารวมกันที่วัด ช่วยกันทำ โดยจะมีเจ้าตำรับหรือชาวบ้านจะเรียกว่า “เจ้าต่ำฮา” ได้กล่าวไว้ว่า จะใช้กระดาษเนื้อบาง ติดประกอบกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำเป็นลักษณะของถุงลมก้นใหญ่ วงปากแคบ กระดาษที่ใช้ทำนั้น จะใช้กระดาษสีเดียวหรือหลาย สี ก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ ในสมัยก่อนนิยมมาช่วยกันทำที่วัด เพราะต้องใช้ สถานที่ทำเป็นลานกว้าง (เจ้าตำรา) เป็นคนคอยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามตำรา ต่างก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือจนเสร็จ
วิธีปล่อย
เมื่อทำเสร็จแล้วก็ต้องรอฤกษ์ในการปล่อย จนกระทั่งได้เวลาเหมาะแล้วก็จะช่วยกัน บ้างก็ถือไม้ค้ำยันไว้ เพื่อให้โคมลอยทรงตัวได้ อีกพวกหนึ่งก็เอาเชื้อเพลิงซึ่งจะใช้ผ้าชุบน้ำมันยางเผาหรือใช้ชัน ซึ่งเรียกกันว่า ขี้ขะย้า เผาเพื่อให้เกิดควัน นอกนั้นอยู่รอบๆ โดยเฉพาะพวกเด็กๆ จะมาห้อมล้อมดูด้วยความสนใจ บางทีก็จะมีกองเชียร์คือ กลองซิ่งม่องตีกันอย่างสนุกสนาน เมื่ออัดควันเข้าเต็มที่แล้วก็จะปล่อยขึ้นไปก็จะมีเสียงประทัดดังสนั่นหวั่นไหว กลองเชียร์ก็เร่งเร้าทำนองกลองให้ตื่นเต้นเร้าใจ
การปล่อยว่าวหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ร้ายภัยพิบัติต่าง ๆ ออกไปจากหมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไป ถ้าไปตกในบ้านใครบ้านนั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็นการทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่บ้านอีกด้วยในปัจจุบันนี้ ก็ได้เริ่มนำเอาโคมลอยมาปล่อยในประเพณีสำคัญ ๆ เช่น งานล่องสะเปา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา งานลอยกระทง และงานที่เป็นสิริมงคลและอวมงคล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://school.obec.go.th/phifo/data/t8.htm
http://www.ms4lp.ac.th/phoompanya/balloon.htm

10 ความคิดเห็น:

nim กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ---
ขอขอบคุณข้อมูลมากๆนะคะคือพอดีตอนนี้คุณครูวิชาศิลปะให้หาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาของ4ภาคอะค่ะ
นี้ก้ได้มา1ภาคแล้ว น่าสนใจมากๆเลยค่ะเรื่องนี้ ก็เลยขอคัดลอกหน่อยนะคระ

nim กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ---
ขอขอบคุณข้อมูลมากๆนะคะคือพอดีตอนนี้คุณครูวิชาศิลปะให้หาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาของ4ภาคอะค่ะ
นี้ก้ได้มา1ภาคแล้ว น่าสนใจมากๆเลยค่ะเรื่องนี้ ก็เลยขอคัดลอกหน่อยนะคระ

tey aum กล่าวว่า...

สวัสดีเจ้า เฮาก่ะเป่นคนเหนือเหมือนกันนะเจ้า น้องก่ะขอหื้อคนเหนือโจ้ยกั่นอนุรักษ์ประเพณีบ้านเฮาไว้โต้ยเจ้า

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณข้อมูลที่ให้มามากมายนะคะ

พอดีวันลอยกระทงที่ผ่านมาอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเค้าเห็นโคมลอยแล้วถามว่ามันสัมพันธ์กับงานลอยกระทงด้วยเหรอ เราคนไทยเองก็เอ๋อไปเลยเพราะไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้น ก็ตอบไปแค่ว่าเป็นกิจกรรมที่ทำกันสนุกๆ วันนี้เลยมาค้นหาประวัติโคมลอยดู ดีใจมากค่ะที่จะได้ข้อมูลไปอธิบายชาวต่างชาติแล้วตัวเองก็ได้รู้ด้วย

Unknown กล่าวว่า...

เหมือนกันเลย อิอิ

คนลำปางกะเจ๋า กล่าวว่า...

จะไปทำโครงงานอะเจ๋า เลยอยากถามว่าภูมิปัญญาทางภาคเหนือมีไรบ้างกะเจ๋า ช่วยกันต๋วยเนอ
ที่เฮารู้ก็มี ร่ม กระดาษสา เจ๋า

คนลำปางกะเจ๋า กล่าวว่า...

ขอ Copy หน่อยเจ๋า

น้องเเจน กล่าวว่า...

อยากให้มีข้อมูลเยอะหน่อยเเล้วก็ข้อมูลโคมลอยนำเสนอได้ดีมากค่ะ

น้องเเจน กล่าวว่า...

อยากให้มีข้อมูลเยอะ(อย่างอื่น)หน่อยเเล้วก็ข้อมูลโคมลอยนำเสนอได้ดีมากค่ะ

น้องเเจน กล่าวว่า...

อยากให้มีข้อมูลเยอะ(อย่างอื่น)หน่อยเเล้วก็ข้อมูลโคมลอยนำเสนอได้ดีมากค่ะ